สอบถามผลิตภัณฑ์
และบริการได้แล้ววันนี้
บันทึกข้อมูลสำเร็จ
Copied!

ยกเลิกการติดตามข่าวสาร

ยืนยัน Loading...
Update
Our Locations
ค้นหาร้านค้า ติดต่อเรา

อีกหนึ่งมุมมองของ Sustainable Design

save_favorites_black saved_favorites
อีกหนึ่งมุมมองของ Sustainable Design

อีกหนึ่งมุมมองของ Sustainable Design

save_favorites_black saved_favorites

ในความเป็นจริงแล้ว แนวคิดของการออกแบบอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Design ไม่ได้มองแค่เรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว เราจะต้องมองไปข้างหน้า ต้องออกแบบเพื่อบริบทโดยรอบไม่ว่าจะเป็น สังคม ผู้คน และสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างประเด็นสำคัญที่อยู่ภายใต้แนวคิดนี้ คือ การใช้ซ้ำ และ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า Reuse และ Recycle

นิปปอนเพนต์ได้รับโอกาสพูดคุยกับหนึ่งคนสำคัญที่มีส่วนร่วมในการรีโนเวทอาคารเก่าหรือสถานที่เก่าหลายแห่ง ให้กลายเป็นสถานที่ที่มีคุณค่า คุณบิว–มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา Architect & Design Director จาก Hypothesis Sustainable ไม่ใช่แค่พื้นที่สีเขียวเพียงอย่างเดียว

คุณบิว: สิ่งที่ Hypothesis สนใจอยู่ช่วงหนึ่งคือการเอาอาคารเก่าหรือตึกร้างมาปรับปรุง เราได้มีโอกาสทำให้กับหลาย ๆ ที่ ยกตัวอย่างเช่น Vivarium ที่เราเอาโกดังรถแทรกเตอร์เก่า มาปรับปรุงเป็นร้านอาหารและสถานที่จัดงานแต่งงาน เป็นการ recycle ให้กลับมาเกิด value อะไรบางอย่าง และผลงานนั้นก็ได้รับรางวัลระดับโลก ทำให้ทีมของเราเริ่มมีความสนใจในการ recycle space อีกครั้ง

อีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่เราได้รับโอกาสคือ ล้ง 1919 จากคุณเปี๊ยะ รุจิราภรณ์ หวั่งหลี เจ้าของบริษัท PIA Interior ที่ให้โอกาสทีมเราได้ทำ research เกี่ยวกับพื้นที่ที่ท่านเป็นเจ้าของ ว่าพื้นที่ตรงนี้ควรจะปรับปรุงอย่างไร มีแนวทางและแผนในการปรับปรุงอย่างไร จนสุดท้ายตระกูลหวั่งหลีก็เลือกที่จะเป็น Cultural Community เราทำงานร่วมกันหลายทีมมาก จากพื้นที่ที่เคยเป็นซาก บันไดไม้ผุที่แค่เอามือไปเขี่ยก็หักแล้ว ก้อนอิฐเอานิ้วจิ้มคือยุ่ยเป็นดินน้ำมัน เราเข้าไปซ่อมแซมและทำให้พื้นที่นี้สำเร็จได้ภายใน 9 เดือน ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ล้ง 1919 เปรียบเสมือนเพชรที่ถูกเจียมาแล้วแต่โดนฝังดิน

จากโกดังเก่าจนเป็น Factoria คุณบิว: จากที่เล่ามาทั้งหมด เราเลยลุกขึ้นมาทำ project ของเราเอง เราตระเวนตามหา warehouse ทั่วกรุงเทพที่มี potential ทั้งหมดสุดท้ายก็มาเจอที่ Warehouse 26 ที่กำลังจะมีคนเช่าอยู่แล้ว เราจึงเขียนแผนขึ้นมาเพื่อเสนอให้กับเจ้าของว่าถ้า Hypothesis เป็นคนเช่า เราจะพลิกย่านนี้ให้เป็น designer community แล้วเราจะทำหน้าที่เป็น hub เป็นร้านอาหาร พื้นที่สำหรับจัด event ต่าง ๆ เป็น community เอื้อประโยชน์คนแถวนี้ทั้งหมด ทางเจ้าของเค้าเห็นความตั้งใจ เลยมอบโอกาสให้ Hypothesis เช่า warehouse นี้ กว่าจะเป็น Factoria เรา recycle ของโดยใช้ design เข้าไปขับเคลื่อน ทำให้โกดังนี้เป็น flexible space เป็นทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ แล้วก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นการจัด event ได้ ออฟฟิศเราก็อยู่ในพื้นที่ที่มองไม่เห็น เราจงใจออกแบบทางเข้าที่ไม่มีคนรู้ เราตั้งสมมติฐานกลับด้านว่า จำเป็นไหมว่า ออฟฟิศ design ต้องเห็นเป็น design เราไม่ได้สนใจว่า office design มันต้องสวย เรารู้สึกว่าเรื่องพวกนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกออฟฟิศพยายามจะทำ แต่มันจะมีไหมที่ออฟฟิศจะคิดเป็นขั้วตรงข้าม เป็นแบบย้อนแย้ง เราคิดว่าถ้าทุกคนเดินไปข้างหน้า ทุกคนก็พยายามแข่งกัน เราไม่อยากแข่งกับคนอื่น ถ้าเราเดินถอยหลัง แล้วมองข้างหลังเค้า เราก็อาจจะเห็นในอีกมุมนึง โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปแข่งกับใคร อันนั้นคือประเด็นที่ Hypothesis มอง ส่วนหนึ่งของการ sustainable ของ Factoria คือ เราไม่ได้รื้อทั้งโกดัง เปลี่ยนใหม่ หรือเอาเหล็กเข้าไปเสริม เรา เติมเข้าไปอย่าง respect เราสามารถใช้ของที่มีอยู่เดิมแล้วก็เห็นศักยภาพ มาออกแบบให้เป็นตัวตนของเดิมให้ได้มากที่สุด นี่คือวิถีของ sustainable ในอีกรูปแบบนึง

Sustainable ที่ตอบโจทย์สมมติฐานคุณบิว: ผมรู้สึกว่าสไตล์มันเป็นเรื่องของการตอบโจทย์ กับความต้องการของเจ้าของ มันอยู่ที่โจทย์ว่าลูกค้าอยากให้เราตอบสมมติฐานนั้นยังไง มันคือการทดลองหมดเลย ทำไม่ได้เราก็จะ challenge ตัวเองเช่นเดียวกัน เราไม่ได้ยึดติดว่าเราจะต้องทำ modern อย่างเดียว หรือต้อง minimal เท่านั้น แต่เราอยากลองทุก ๆ อย่างแล้วดูว่าศักยภาพหรือการตั้งคำถามเรามันตอบโจทย์นั้นได้จริงหรือเปล่า สำคัญที่การตอบโจทย์ สำคัญที่ความพึงพอใจของคนว่าจ้าง สำคัญที่ความพึงพอใจของผู้เข้ามาใช้ นั่นหมายถึงสมมติฐานได้ตอบโจทย์ และคือตัวเราที่ทำให้มัน sustain ด้วย ของบางอย่างมันทำมาแล้วไม่ตอบโจทย์ลูกค้า บางทีก็อาจจะทุบทิ้งก็ได้นะแล้วก็สร้างใหม่ มันก็ไม่ตรงประเด็น การ sustain มันตอบได้หลายรูปแบบไม่ใช่แค่พื้นที่สีเขียวเพียงอย่างเดียว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่Facebook: Line: Website:Youtube:Tel: 02 463 1899