ปัจจุบันการทำงานด้านการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร BIM หรือ Building Information Modeling นั้น เป็นที่นิยมกันมากในการพัฒนากระบวนการทำงานออกแบบและก่อสร้างของประเทศไทย ซึ่งในการทำงานการสร้างแบบจำลองอาคาร ยังมีอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมและมีพัฒนาการในการใช้งานกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็คือเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Reality Capture” นั่นเอง โดยจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลจากโลกความเป็นจริง และนำมาใช้เป็นแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้กล้องเลเซอร์แสกน การถ่ายภาพ หรือการใช้อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน ในการเก็บข้อมูล และนำมาประมวลผลเพื่อให้ได้แบบจำลองที่แม่นยำ และรวดเร็ว แล้วนำผลที่ได้นั้นมาเชื่อมโยงกับกระบวนการออกแบบ และการสร้างแบบจำลอง BIM ต่อไป โดยปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีนี้ในการสำรวจและเก็บข้อมูลจะมีการใช้งานอยู่หลาย ๆ ลักษณะ ดังนี้
โดยเทคโนโลยี Reality Capture จะมีการทำงานหลัก ๆ อยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
Laser Scanner
ได้ถูกใช้งานหลักในการสำรวจอาคารเดิมที่ก่อสร้างมานานแล้ว และเริ่มมีการนำมาใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาคารที่กำลังก่อสร้างใหม่ ซึ่งปัจจุบันการใช้ Laser Scanner ได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่จำเป็นของวงจรการทำงานของ BIM และทำให้ภาพรวมและประโยชน์การใช้งาน BIM มีความชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยกล้อง Laser Scanner จะทำหน้าที่ส่งลำแสงเลเซอร์ความเข้มสูงในการวัดตำแหน่งและพื้นผิววัตถุ และมีการจับเวลาในการเดินทางจากต้นกำเนิดไปสู่วัตถุและกลับไปยังแหล่งกำเนิด โดยอุปกรณ์จะทำการวัดเวลาในการเดินทางกลับของลำแสงเลเซอร์แล้วคำนวนออกมาเป็นระยะความห่างของวัตถุนั้น
ซึ่งความสามารถของกล้อง Laser Scanner ในปัจจุบันนั้นมีความสามารถในการยิงลำแสงได้ในระดับหลายพันลำต่อวินาที ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้กล้อง Laser Scanner จะให้ข้อมูลออกมาในรูปแบบที่เรียกว่า Point Cloud ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลค่าสีของพื้นผิวที่เป็นแบบ RGB (Red, Green, Blue) มากับการสแกนในแต่ละครั้งด้วย ซึ่งไฟล์ Point Cloud นี้ เราก็สามารถนำมาแปลงใช้กับซอฟท์แวร์ Autodesk Recap Pro เพื่อนำมาใช้กับซอฟท์แวร์ทางด้าน BIM อย่าง Autodesk Revit หรือแม้แต่จะนำมาใช้งานกับ AutoCAD ก็ได้ด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีของ Laser Scanner ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยว่ากันตามวิธีการใช้งานนั้นมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกันคือ
Photogrammetry
หลักการในการนำเอาภาพถ่ายหลาย ๆ ภาพมาประมวลผลในเชิงรูปทรงทางเรขาคณิต ซึ่งจะเป็นการนำภาพเหล่านั้นมาคำนวนหาจุดร่วม กำหนดตำแหน่ง และทำการสร้างรูปสามมิติขึ้นมาจากภาพถ่ายเหล่านั้น โดยเทคโนโลยี Photogrammetry นั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
Photogrammetry: พระพุทธรูปวัดธรรมาราม จ.อยุธยา
Photogrammetry: เรือสำเภาวัดยานนาวา
Photogrammetry และแปลงเป็นไฟล์ Point Cloud: วัดปริวาสราชสงคราม
2. Aerial Photogrammetry คือ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ Drone ในการบินถ่ายภาพและบันทึกค่าพิกัดของภาพเหล่านั้นมาเพื่อนำมาใช้ประมวลผลต่อไป ซึ่งจำนวนภาพที่จะต้องถ่ายก็ขึ้นกับขนาดของพื้นที่สำรวจ รายละเอียดที่ต้องการ และความสูงของการบินสำรวจ
Photogram จากภาพถ่ายโดรน: พื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โดยหลังจากที่ได้ภาพมาแล้วก็จะนำภาพเหล่านั้นมาใช้กับซอฟท์แวร์ เพื่อการประมวลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ หรือในกรณีของการบินโดรนก็มักจะมีการเอาภาพ 2 มิติ หรือภาพ Ortho Photo เพื่อนำไปใช้งานต่อไป โดยลักษณะของไฟล์ที่ได้มาจากกระบวนการจัดทำ Photogrammetry จะมีพื้นผิว (Mesh) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับซอฟท์แวร์ด้านสามมิติได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 3ds Max และ Maya เป็นต้น หรือจะนำมาแปลงเป็นไฟล์ Point Cloud ก็ได้เช่นกัน เพื่อนำไฟล์ที่ได้แปลงเข้าสู่การจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารหรือ BIM ในขั้นตอนต่อไปนั่นเอง
โดยซอฟท์แวร์ที่ใช้สำหรับการประมวลผลหลัก ๆ ตามตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จะใช้อยู่ 3 ตัว ได้แก่
การนำไฟล์ Point Cloud เข้ามาใช้กับการสร้างแบบจำลอง BIM: อาคารคุ้มวิชัยราชา จ.แพร่
แบบจำลอง BIM ที่ได้จากการเก็บข้อมูลด้วยวิธี Photogrammetry และนำมาใช้กับ Autodesk Revit ในการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร BIM: อาคารคุ้มวิชัยราชา จ.แพร่
การนำไฟล์ Point Cloud เข้ามาใช้กับการตรวจสอบแบบจำลอง BIM: การเคหะแห่งชาติ
สนใจขอทราบรายละเอียดสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท วี อาร์ ดิจิตอล จำกัด
154 ซอยสุขสันต์ ถ.สุรวงศ์ บางรัก กทม.10500
โทร: 662-267-6388-9 Email: info@vr-3d.com , sales@vr-3d.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
Facebook: Nippon Paint Decorative
Line: @nipponpaint
Website: www.nipponpaintdecor.com
Youtube: Nippon Paint Decorative
Tel: 02 463 1899